ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายคนเริ่มรู้จัก Cookies ไฟล์ขนาดเล็กที่เซิร์ฟเวอร์ทิ้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของยูสเซอร์ เพื่อไว้ใช้ติดตามการใช้งาน ซึ่งอภิมหาเสิร์ชเอ็นจินอย่าง Google ก็จะมีการฝากไฟล์คุ้กกี้ไว้ในคอมพ์ของเรา เพื่อคอยสอดส่องดูว่า เราชอบเสิร์ชอะไร แหม...บางครั้งเรื่องส่วนตัว เราก็ไม่อยากให้ใครรู้นี่นา...จริงมะ? ทิปนี้ นายเกาเหลาเลยจะมาแนะนำวิธีล้างบางคุ้กกี้ของ Google ให้กับเพื่อนๆ ครับ
นายเกาเหลา คิดว่าผู้ใช้หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า Google สามารถติดตามการสืบค้นข้อมูลของเราได้ ทุกครั้งที่เราเข้าไปใช้บริการ ไม่ว่าข้อมูลที่เราสืบค้นนั้นจะเป็นเรื่องส่วนตัว หรือเป็นเรื่องที่ไม่อยากให้ใครทราบก็ตาม แต่มันก็ถูกเก็บประวัติการสืบค้นไปเรียบร้อยแล้ว โดยเจ้าไฟล์คุ้กกี้ที่อยู่ในเครื่องของเรานั่นเองที่จะคอยบอกกับ Google ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรากำลังติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของ Google เพื่อทำการค้นหาข้อมูลอยู่ในขณะนั้น ซึ่งนั่นหมายความว่า ไม่ว่าคีย์เวิร์ดที่ค้นจะเป็นอะไร และคลิ้กไปเข้าที่ไหนบ้างจากลิงก์ผลลัพธ์ Google ก็จะรู้หมด ความเป็นส่วนตัวคืออะไร? เรื่องอย่างนี้เคยเกิดเป็นประเด็นมาแล้วกับบริการออนไลน์ยักษ์ใหญ่ในอเมริกานั่นคือ AOL ที่เกิดปัญหาว่า ข้อมูลการค้นของผู้ใช้หลุดออกมา ซึ่งสามารถนำไปตรวจสอบได้ว่า สมาชิกคนใด ค้นหาอะไรกันบ้าง... เป็นเรื่องน่าเศร้ามากๆ แบบว่า ไม่เป็นดาราก็โดนแฉได้เหมือนกันนะเนี่ย เกิดข้อมูลที่ค้นเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่อยากให้ใครรู้จริงๆ
สำหรับอายุของไฟล์คุ้กกี้ของ Google จะอยู่ที่ 2 ปี นั่นหมายความว่า มันจะไม่มีความหมายหลังครบ 2 ปีไปแล้ว แต่ไฟล์คุ้กกี้จะถูกเริ่มต้นนับอายุของมันใหม่ทุกครั้งที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูล ถ้าเพื่อนคนไหน ซีเรียสกับเรื่องนี้ก็อาจจะลองหาเครื่องมือมาป้องกันได้ อย่างเช่น G-Zapper (http://www.dummysoftware.com/gzapper.html) สำหรับผู้ใช้ IE แต่ถ้าเพื่อนๆ ใช้ Firefox ก็ต้องนี่เลย CustomizeGoogle (http://www.customizegoogle.com/) ซึ่ง G-Zapper จะคอยลบคุ้กกี้ของ Google ทันทีที่ตรวจพบว่า Google กำลังพยายามจะฝากคุ้กกี้ให้กับเรา ในขณะที่ customizegoogle จะใช้วิธีซ่อนหมายเลขผู้ใช้คุ้กกี้กูเกิ้ล แต่ถ้าไม่มีประเด็นที่ต้องกังวลก็ไม่จำเป็นต้องหามาใช้หรอกครับ
นายเกาเหลา คิดว่าผู้ใช้หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า Google สามารถติดตามการสืบค้นข้อมูลของเราได้ ทุกครั้งที่เราเข้าไปใช้บริการ ไม่ว่าข้อมูลที่เราสืบค้นนั้นจะเป็นเรื่องส่วนตัว หรือเป็นเรื่องที่ไม่อยากให้ใครทราบก็ตาม แต่มันก็ถูกเก็บประวัติการสืบค้นไปเรียบร้อยแล้ว โดยเจ้าไฟล์คุ้กกี้ที่อยู่ในเครื่องของเรานั่นเองที่จะคอยบอกกับ Google ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรากำลังติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของ Google เพื่อทำการค้นหาข้อมูลอยู่ในขณะนั้น ซึ่งนั่นหมายความว่า ไม่ว่าคีย์เวิร์ดที่ค้นจะเป็นอะไร และคลิ้กไปเข้าที่ไหนบ้างจากลิงก์ผลลัพธ์ Google ก็จะรู้หมด ความเป็นส่วนตัวคืออะไร? เรื่องอย่างนี้เคยเกิดเป็นประเด็นมาแล้วกับบริการออนไลน์ยักษ์ใหญ่ในอเมริกานั่นคือ AOL ที่เกิดปัญหาว่า ข้อมูลการค้นของผู้ใช้หลุดออกมา ซึ่งสามารถนำไปตรวจสอบได้ว่า สมาชิกคนใด ค้นหาอะไรกันบ้าง... เป็นเรื่องน่าเศร้ามากๆ แบบว่า ไม่เป็นดาราก็โดนแฉได้เหมือนกันนะเนี่ย เกิดข้อมูลที่ค้นเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่อยากให้ใครรู้จริงๆ
สำหรับอายุของไฟล์คุ้กกี้ของ Google จะอยู่ที่ 2 ปี นั่นหมายความว่า มันจะไม่มีความหมายหลังครบ 2 ปีไปแล้ว แต่ไฟล์คุ้กกี้จะถูกเริ่มต้นนับอายุของมันใหม่ทุกครั้งที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูล ถ้าเพื่อนคนไหน ซีเรียสกับเรื่องนี้ก็อาจจะลองหาเครื่องมือมาป้องกันได้ อย่างเช่น G-Zapper (http://www.dummysoftware.com/gzapper.html) สำหรับผู้ใช้ IE แต่ถ้าเพื่อนๆ ใช้ Firefox ก็ต้องนี่เลย CustomizeGoogle (http://www.customizegoogle.com/) ซึ่ง G-Zapper จะคอยลบคุ้กกี้ของ Google ทันทีที่ตรวจพบว่า Google กำลังพยายามจะฝากคุ้กกี้ให้กับเรา ในขณะที่ customizegoogle จะใช้วิธีซ่อนหมายเลขผู้ใช้คุ้กกี้กูเกิ้ล แต่ถ้าไม่มีประเด็นที่ต้องกังวลก็ไม่จำเป็นต้องหามาใช้หรอกครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น