วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551

รายงานคำถามท้ายบทที่1


ประเภทคอมพิวเตอร์




คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของขนาดเครื่องความเร็วในการประมวลผล และราคาเป็นข้อพิจารณาหลัก โดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภท คอมพิวเตอร์ เป็น 6 ประเภทดังนี้คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (mainframe computer) มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) เวิรค์สเตชัน (WorkStation) เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer ) ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) และคอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้





ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่า คอมพิวเตอร์แบบอื่น ดังนั้นจึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ สามารถคำนวนเลขที่มีจุดทศนิยม ด้วยความเร็วสูงมาก ขนาดหลายร้อยล้านจำนวนต่อวินาที งานที่ให้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำแค่ 1 วินาที ถ้าหากเอามาให้คนอย่างเราคิด อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าร้อยปี ด้วยเหตุนี้ จึงเหมาะที่จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เมื่อต้องมีการคำนวนมากๆ อย่างเช่น งานวิเคราะห์ภาพถ่าย จากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา หรือดาวเทียมสำรวจทรัพยากร งานวิเคราะห์พยากรณ์อากาศ งานทำแบบจำลองโมเลกุล ของสารเคมี งานวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร ที่ซับซ้อน คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ มีราคาค่อนข้างแพง ปัจจุบันประเทศไทย มีเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray YMP ใช้ในงานวิจัย อยู่ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สมรรถภาพสูง (HPCC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ผู้ใช้เป็นนักวิจัยด้านวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)


คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ คือปกติสามารถทำงานได้รวดเร็ว หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที สำหรับสาเหตุที่ได้ชื่อว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็เพราะครั้งแรกที่สร้างคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ได้สร้างไว้บนฐานรองรับ ที่เรียกว่า คัสซี่ (Chassis) โดยมีชื่อเรียกฐานรองรับนี้ว่า เมนเฟรม นั่นเอง
เหมาะกับการใช้งาน ทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆ เช่น งานธนาคาร ซึ่งต้องตรวจสอบบัญชีลูกค้าหลายคน งานของสำนักงานทะเบียนราษฎร์ ที่เก็บรายชื่อประชาชนประมาณ 60 ล้านคน พร้อมรายละเอียดต่างๆ งานจัดการบันทึกการส่งเงิน ของผู้ประกับตนหลายล้านคน ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน คอมพิวเตอร์เมนเฟรม ที่มีชื่อเสียงมาก คือ เครื่องของบริษัท IBM
ในปัจจุบัน ความนิยมใช้เครื่องเมนเฟรม ในหน่วยงานต่างๆ ได้ลดน้อยลงมาก เพราะราคาเครื่องค่อนข้างแพง การใช้งานค่อนข้างยาก และมีผู้รู้ด้านนี้ค่อนข้างน้อย สถานศึกษาที่มีเครื่องระดับนี้ไว้ใช้สอน ก็มีเพียงไม่กี่แห่ง เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งคือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกว่า ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะมากขึ้น จนสามารถทำงานได้เท่ากับเครื่องเมนเฟรม แต่ราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตามเครื่องเมนเฟรม ยังคงมีความจำเป็น ในงานที่ต้องใช้ข้อมูลมากๆ พร้อมๆ กันอยู่ต่อไปอีก ทั้งนี้เพราะ เครื่องเมนเฟรมสามารถพ่วงต่อ และควบคุมอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เครื่องขับจานแม่เหล็ก ฯลฯ ได้เป็นจำนวนมากในเวลาเดียวกัน
บริษัทผู้ผลิตได้แก่ บริษัทไอบีเอ็ม (IBM), บริษัทดิจิตอล อควิปเมนต์ คอร์ปอเรชั่น (DEC - ปัจจุบันถูก Take Over โดยบริษัท HP) เป็นต้น




มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)


เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะน้อยกว่าเครื่องเมนเฟรม คือทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตามจุดเด่นสำคัญ ของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม การใช้งานก็ไม่ต้องใช้ บุคลากรมากนัก นอกจากนั้น ยังมีผู้ที่รู้วิธีใช้มากกว่าด้วย เพราะเครื่องประเภทนี้ มีใช้ตามสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาหลายแห่ง
มินิคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานหลากหลายประเภท คือใช้ได้ทั้งในงานวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม เครื่องที่มีใช้ตามหน่วยงานราชการระดับกรมส่วนใหญ่ มักจะเป็นเครื่องประเภทนี้
เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับความนิยมใช้กันมี บริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC เครื่อง Unisys ของบริษัท Unisys เครื่อง NEC ของบริษัท NEC เครื่อง Nixdorf ของบริษัท Siemens-Nixdorf เครื่อง NCR ของบริษัท NCR ฯลฯ



workstation


1. workstation (เวิร์กสเตชัน) เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้ส่วนบุคคล แต่เร็วและมีความสามารถมากกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มีแนวโน้มการใช้สำหรับธุรกิจและวิชาชีพ เวิร์กสเตชัน และการประยุกต์ออกแบบ สำหรับการใช้โดยบริษัทขนาดเล็กด้านวิศวกรรม, สถาปัตยกรรม, การออกแบบกราฟฟิก หรือส่วนบุคคลที่ต้องการไมโครโพรเซสเซอร์ที่เร็วกว่า มีขนาด RAM มาก และส่วนพิเศษอื่น ๆ เช่น graphics adapter ความเร็วสูง, ที่มาของการพัฒนาเทคโนโลยีเกิดขึ้น พร้อมกับระบบปฏิบัติการ UNIX และผู้ผลิตเครื่องเวิร์กสเตชันชั้นนำ ได้แก่ Sun Microsystems, Hewlett-Packard, DEC และ IBM2. ใน IBM และบริษัทอื่น ๆ คำว่า "Workstation" บางครั้งใช้ในความหมาย "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่เชื่อมเข้ากับเครื่องเมนเฟรม" ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมของบริษัท พนักงานมีเครื่องในลักษณะ "เวิร์กสเตชัน" หมายถึง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ต่อกันเครือข่าย LAN และใช้ทรัพยากรร่วมของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล สามารถใช้เป็นอิสระจากเมนเฟรม เหมือนกับว่าพวกเขามีโปรแกรมประยุกต์ของตัวเอง ติดตั้งอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของตัวเอง การใช้ลักษณะนี้ของคำว่า "workstation" (ใน IBM เรียกว่า "programmable workstation") ทำให้แตกต่างจากความหมายเดิม ของ "terminal"



ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)


เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และใช้ทำงานคนเดียว จึงนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ใช้งานที่พบได้อย่างแพร่หลาย จัดว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทั้งระบบใช้งานครั้งล่ะคนเดียว หรือใช้งานในลักษณะเครือข่าย แบ่งได้หลายลักษณะตามขนาด เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ (Personal Computer) หรือแบบพกพา (Portable Computer) หรือแบ่งตามผู้ผลิต ได้แก่ เครื่องกลุ่ม IBM, IBM Compatible และแมคอินทอช (Macintosh) เป็นต้น

คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ ที่เป็นตัวการผลักดันให้เกิด การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในโลกคอมพิวเตอร์ คือ ทำให้เกิดความสนใจ ในเรื่องคอมพิวเตอร ์แพร่หลายไปสู่คนทุกอาชีพ และทุกวัย อย่างเช่นในเมืองไทยนี้เอง ก็มีนายแพทย์จำนวนมาก สนใจซื้อคอมพิวเตอร์มาศึกษา จนถึงขั้นเขียนโปรแกรมขึ้นมา ช่วยงานของโรงพยาบาลได้ อดีตปลัดกระทรวงสำคัญท่านหนึ่ง ก็ใช้คอมพิวเตอร์คล่อง จนถึงขั้นสามารถใช้เก็บข้อมูลสำคัญๆ ของกระทรวง ไว้ใช้ในการบริหารงานได้ ผู้บริหารงานราชการอีกหลายท่าน ก็มีความสามารถในด้านการใช้คอมพิวเตอร์ ในระดับที่ผู้เชี่ยวชาญก็ยังต้องอาย



PDA (Personal Digital Assistant)
PDA (Personal Digital Assistant) เป็นคำสำหรับมือถือเคลื่อนที่ขนาดเล็กที่ใช้ในการคำนวณ และเก็บสารสนเทศ และความสามารถต่าง ๆ สำหรับการใช้งานส่วนบุคคล นอกจากนี้สำหรับการเก็บตารางเวลา และสมุดรายนามโทรศัพท์ มีความหมายคล้ายกับ handheld ประชาชนทั่วไปใช้ชื่อของผลิตภัณฑ์ PDA ที่นิยมใช้เป็นชื่อทั่วไป ได้แก่ Hewlett Packard Palmtop และ 3 COM Palm pilotเครื่อง PDA ส่วนใหญ่มีคีย์บอร์ดขนาดเล็ก เครื่อง PDA บางแบบมี electronically sensitivity pad สำหรับการรับคำสั่งด้วยการเขียน Apple Newton ซึ่งถอนจากตลาดไปแล้ว เป็นเครื่อง PDA แบบเขียนรุ่นแรกที่มีการขายในตลาดอย่างกว้างขวาง การใช้ PDA ตามปกติได้แก่ ตารางเวลา เก็บสมุดรายนามโทรศัพท์ การบันทึกและแสดงข้อความ อย่างไรก็ตามโปรแกรมประยุกต์ได้รับการเขียนสำหรับ PDA นอกจากนี้ PDA ได้รวมระบบโทรศัพท์ และ pagingPDA บางส่วนใช้ระบบปฏิบัติการ Windows ของ Microsoft ชื่อว่า Windows CE ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ มีระบบปฏิบัติของตัวเอง หรือระบบปฏิบัติการอื่น





คอมพิวเตอร์เครือข่าย (Network computer)



เป็นคอมพิวเตอร์แบบใหม่ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากไมโครคอมพิวเตอร์ โดยได้รับอิทธิพลมาจากแนวความคิดของอินเตอร์เนท คอมพิวเตอร์เครือข่ายหรือนิยมเรียกว่า NC จะถูก ออกแบบให้เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราค่าต่ำ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาน้อย ทำให้เหมาะสมกับการใช้งานปริมาณมากๆ ในองค์การขนาดใหญ่ รวมทั้งผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เนตคอมพิวเตอร์เครือข่ายจะไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองอยู่ในตัว การจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมจะอยู่ที่เครื่องศูนย์กลาง ซึ่งข้อดีคือ การเปลี่ยนรุ่น ซอฟต์แวร์ สามรถทำงานได้ง่าย สามารถทำงานจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่ายเครื่องใดก็ได้ รวมทั้งง่ายต่อการดูแลรักษาของผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์



คอมพิวเตอร์แบบฝัง(Embeded computers)


เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกฝังไปในอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้มองไม่เห็นจากรูปลักษณ์ภายนอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์เช่น นิยมใช้การทำงานเฉพาะด้าน โดยทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมหน้าที่การทำงานบางอย่าง เช่นเตาอบไฟฟ้า นาฬิกาข้อมือ อุปกรณ์เล่นเกม


ที่มาจากเว็บ:http://www.sukhothaitc.ac.th/e_learning/combasic3.htm
สืบค้นเมื่อวันที่ 30/06/51


คอมพิวเตอร์แบบฝัง
embedded computer


ความหมายและประโยชน์ ของคอมพิวเตอร์แบบฝัง
คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer ) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

ที่มาจากเว็บ:http://www.tp.th.gs/web-t/p/index3.htm

สืบค้นเมื่อวันที่ 30/06/51

ความแตกต่าง "ข้อมูล" และ" สารสนเทศ"

ข้อมูล (Data) ในระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึงสิ่งที่เป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดนี้จะมีจำนวนมากอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร กราฟฟิก สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้รับการประมวลผลใดๆ จึงเป็น ข้อมูลที่ต้องการได้รับการประมวลผลเพื่อทราบผลลัพธ์ หรือต้องการจัดเก็บให้เป็นระบบระเรียบเพื่อใช้งานต่อไป
สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว โดยขั้นตอนในการประมวลคือมีการรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลว่าข้อมูลนั้นจริงเท็จอย่างไร แล้วนำไปดำเนินการประมวลผลโดย ใช้วิการจัดแบ่งข้อมุล แบ่งเป็นกลุ่มๆตามประเภทและจัดเรียงข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานและ สุดท้ายการคำนวณข้อมูล ซึ่งข้อมุลบางตัวนั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลขจึงจะต้องมีการคำนวณเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะดวกต่อการใช้งานและเป็นข้อมุลสุดท้ายที่ได้มานั้นดีที่สุด และหลังจากการประมวลผลแล้วนั้นเราก็ต้องจัดเก็บข้อมูล โดยอาจจะใช้การจัดเก็บลงเครื่องหรือสื่อบันทึกต่างๆ เพื่อจะได้ง่ายต่อการเรียกใช้งาน อีกด้วย
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า "ข้อมูล" คือ ข่าวสาร ข้อความรูปภาพ เสียง หรืออะไรต่างๆ ที่อยู่ในหลายๆ รูปแบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล หรือจัดกลุ่ม เรียบเรียงอะไรทั้งสิ้น ยังไม่สามารถที่จะนำไปใช้งานได้ จะแตกต่างกับ "สารสนเทศ" นั้นคือ สารสนเทศ เป็นข้อมูลที่ได้รับการกลั่นกรอง หรือประมวลผลในรูปแบบหรือกรรมวิธีต่างๆแล้ว เป็นข้อมูลที่สะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลที่ดีที่สุด สามารถนำมาอ้างอึง ใช้งานได้เลย

อ้างอิง คัดลอก และตัดต่อบทความมาจาก http://board.dserver.org/k/kitty2001/00000023.html

VLSI คือ

จากวงจรไอซีได้มีการพัฒนาวงจรรวมความจุสูงหรือแอลเอสไอ (Large Scale Integrated Circuit : LSI) ขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.2513 ทำให้สามารถบรรจุวงจรทรานซิสเตอร์จำนวนหลายพันตัวลงบนแผ่นซิลิคอนขนาด 1/6 ตารางนิ้ว นับเป็นการเริ่มยุคที่สี่ของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ระหว่าง พ.ศ.2513 – 2532 และในปี พ.ศ. 2518 สามารถเพิ่มปริมาณวงจรหลายหมื่นวงจรลงบนซิลิคอนขนาดเท่าเดิม เรียกว่า วงจรรวมความจุสูงมากหรือวีแอลเอสไอ (Very Large Scale Integrated Circuit : VLSI) จากการประดิษฐ์วีแอลเอสไอสามารถนำมาสร้างเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central Processing Unit : CPU) ของคอมพิวเตอร์ และสามารถลดขนาดของคอมพิวเตอร์ให้เล็กลงจนสามารถตั้งบนโต๊ะทำงานในสำนักงาน หรือพกพาไปในที่ต่างๆ เหมือนกระเป๋าหิ้วได้ เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกิดในยุคนี้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) นอกจากนี้ ยังสามารถนำวงจรวีแอลเอสไอมาสร้างเป็นหน่วยความจำรองที่สามารถเก็บข้อมูลในระหว่างที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ทำให้ได้หน่วยความจำที่มีความจุมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ยุคนี้จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนคอมพิวเตอร์นอกจากช่วยงานคำนวณแล้วยังสามารถทำงานเฉพาะทางอื่นๆ ได้มากกว่าช่วยงานคำนวณ เช่น การนำเสนอข้อมูลแบบสื่อประสม วงจรวีแอลเอสไอที่รวมทรานซิสเตอร์ได้นับพันตัวไว้บนแผ่นซิลิคอนที่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับมือคน

ที่มาจากเว็บ: http://203.154.140.4/ebook/files/chap3-7.htm

ใช้คอมพิวเตอร์ทำอะไรบ้าง ?


ใช้เพื่อเข้าinternet หาข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลความบันเทิง วิชาการ การเมือง ฯลฯ
ใช้ทางด้านการพิมพ์งาน เช่นใช้ microsoft word เป็นโปรแกรมให้เราพิมพ์ของเราได้ง่าย และรวดเร็วสวยงาม
ใช้ทางด้านความบันเทิง เล่นเกมส์ ฟังเพลง เพื่อความสนุกสนานบันเทิง

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Internet : ล้างบาง Cookies ของ Google





ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายคนเริ่มรู้จัก Cookies ไฟล์ขนาดเล็กที่เซิร์ฟเวอร์ทิ้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของยูสเซอร์ เพื่อไว้ใช้ติดตามการใช้งาน ซึ่งอภิมหาเสิร์ชเอ็นจินอย่าง Google ก็จะมีการฝากไฟล์คุ้กกี้ไว้ในคอมพ์ของเรา เพื่อคอยสอดส่องดูว่า เราชอบเสิร์ชอะไร แหม...บางครั้งเรื่องส่วนตัว เราก็ไม่อยากให้ใครรู้นี่นา...จริงมะ? ทิปนี้ นายเกาเหลาเลยจะมาแนะนำวิธีล้างบางคุ้กกี้ของ Google ให้กับเพื่อนๆ ครับ
นายเกาเหลา คิดว่าผู้ใช้หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า Google สามารถติดตามการสืบค้นข้อมูลของเราได้ ทุกครั้งที่เราเข้าไปใช้บริการ ไม่ว่าข้อมูลที่เราสืบค้นนั้นจะเป็นเรื่องส่วนตัว หรือเป็นเรื่องที่ไม่อยากให้ใครทราบก็ตาม แต่มันก็ถูกเก็บประวัติการสืบค้นไปเรียบร้อยแล้ว โดยเจ้าไฟล์คุ้กกี้ที่อยู่ในเครื่องของเรานั่นเองที่จะคอยบอกกับ Google ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรากำลังติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของ Google เพื่อทำการค้นหาข้อมูลอยู่ในขณะนั้น ซึ่งนั่นหมายความว่า ไม่ว่าคีย์เวิร์ดที่ค้นจะเป็นอะไร และคลิ้กไปเข้าที่ไหนบ้างจากลิงก์ผลลัพธ์ Google ก็จะรู้หมด ความเป็นส่วนตัวคืออะไร? เรื่องอย่างนี้เคยเกิดเป็นประเด็นมาแล้วกับบริการออนไลน์ยักษ์ใหญ่ในอเมริกานั่นคือ AOL ที่เกิดปัญหาว่า ข้อมูลการค้นของผู้ใช้หลุดออกมา ซึ่งสามารถนำไปตรวจสอบได้ว่า สมาชิกคนใด ค้นหาอะไรกันบ้าง... เป็นเรื่องน่าเศร้ามากๆ แบบว่า ไม่เป็นดาราก็โดนแฉได้เหมือนกันนะเนี่ย เกิดข้อมูลที่ค้นเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่อยากให้ใครรู้จริงๆ
สำหรับอายุของไฟล์คุ้กกี้ของ Google จะอยู่ที่ 2 ปี นั่นหมายความว่า มันจะไม่มีความหมายหลังครบ 2 ปีไปแล้ว แต่ไฟล์คุ้กกี้จะถูกเริ่มต้นนับอายุของมันใหม่ทุกครั้งที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูล ถ้าเพื่อนคนไหน ซีเรียสกับเรื่องนี้ก็อาจจะลองหาเครื่องมือมาป้องกันได้ อย่างเช่น G-Zapper (http://www.dummysoftware.com/gzapper.html) สำหรับผู้ใช้ IE แต่ถ้าเพื่อนๆ ใช้ Firefox ก็ต้องนี่เลย CustomizeGoogle (http://www.customizegoogle.com/) ซึ่ง G-Zapper จะคอยลบคุ้กกี้ของ Google ทันทีที่ตรวจพบว่า Google กำลังพยายามจะฝากคุ้กกี้ให้กับเรา ในขณะที่ customizegoogle จะใช้วิธีซ่อนหมายเลขผู้ใช้คุ้กกี้กูเกิ้ล แต่ถ้าไม่มีประเด็นที่ต้องกังวลก็ไม่จำเป็นต้องหามาใช้หรอกครับ

มาจากเว็บ www.arip.co.th
วันที่ 24 มิถุนายน 2551

เขียนซีดีให้ได้ Over ถึง 850 MB


ปกติแล้วแผ่นซีดี 1 แผ่นจะเก็บข้อมูลได้สูงสุดไม่เกิน 700 MB แต่วันนี้นายเกาเหลาจะขอสร้างปาฏิหาริย์ ด้วยการเขียนข้อมูลให้ได้ความจุถึง 850 MB บอกก่อนนะครับว่าไม่ได้โม้ แต่ทำได้จริง ก่อนอื่น CD-Writer ของคุณจะต้องรองรับเขียนแผ่นแบบ Overburn หรือเขียนแบบ Oversize ได้ ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว CD-Writer ในปัจจุบันก็สามารถใช้งานแบบนั้นได้อยู่แล้ว (นอกเสียจากว่า CD-Writer จะเป็นรุ่นเจ้าคุณทวด อันนี้ก็คงต้องบายทิปนี้ไป)
คราวนี้ให้เปิดโปรแกรม Nero Express ไปเมนู Configure แล้วไปที่ TAB General จากนั้นมาที่รายการ Status bar ในหัวข้อ Yellow marker ใส่ตัวเลข 80 ส่วนช่อง Red marker ใส่ตัวเลข 99 จากนั้นมาที่ TAB Expert Features ใส่เครื่องหมายถูกหน้าข้อความ Enable Overburn Disk- at- onc และในช่อง Maximum CD size ใส่เลข 99 ลงไปครับ ที่นี้เรามาลองเขียนแผ่นซีดีดู โดยตัวอย่างนี้ผมจะเลือกไฟล์ขนาด 850 MB มาลองเขียนลงไปบนแผ่นซีดีขนาด 700 MB อย่าลืมเลือกการเขียนแผ่นแบบ Disk-at-once จากนั้นก็ Burn แผ่นได้เลย
ระบบจะแจ้งว่า Over Burn Writing ซึ่งก็ไม่ต้องตกใจอะไรเพราะนี่คือการเขียนเกินขอบเขตของระบบ ทำให้คอมพ์มันถามยืนยันว่าจะเขียนแน่เหรอ...เราก็ตอบไปว่าแน่นอน โดยกดที่ปุ่ม Write Overburn Disc แค่นี้ก็เสร็จแล้วครับท่าน
แน่นอนว่าเมื่อมีดีมันก็ย่อมมีเสีย โดยข้อเสียของการทำ Overburn คือ มันอาจจะทำให้มีการกระตุก หากมีการใช้งานกับไดรฟ์ CD-Rom บางรุ่น (ที่อาจจะไม่รองรับการเขียน-อ่าน Overburn) หรือบางทีอาจจะอ่านไม่ได้เลยก็มีเพราะมันไม่สามารถเคลื่อนหัวอ่านไปถึงพื้นที่บางจุดบนแผ่น เช่น ขอบด้านนอกของแผ่น เป็นต้นครับ...แต่ถ้าจำเป็นต้องบันทึกข้อมูลใหญ่ๆ เช่นนี้จริงๆ นายเกาเหลาว่าข้อดียอมมีกว่าข้อเสียนะครับ
มาจากเว็บ www.arip.co.th
วันที่ 24 มิถุนายน 2551

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551

รายงาน

รายงานวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์